วันจันทร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2555

งานวันศุกร์ จำนวน 1 คาบ 1 ชั่วโมง
ให้นักเรียนค้นคว้าความรู้จากอินเตอร์เน็ต โดยใช้ห้อง E-Classroom
และทำเว็บบล๊อก เรื่อง การเคลื่อนที่แบบต่างๆ
1.การเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์
2.การเคลื่อนที่แบบวงกลม
3.การเคลื่อนที่แบบฮาร์มอนิก
4.หาโจทย์เรื่องการเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์
5.หาโจทย์เรื่องการเคลื่อนที่แบบวงกลม
6.โจทย์การเคลื่อนที่แบบฮาร์มอนิก
  เนื้อหาที่ทำในเว็บบล๊อกให้มีคลิปวีดีโอจาก youtube และ มีส่วนของทฤษฎีที่เป็นตัวอักษร
ดูเพิ่มเติม

1.การเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์

การเคลื่อนที่แบบโปรเจกไตล์(Motion of a Projectile)
คือการเคลื่อนที่ของวัตถุเป็นแนวโค้ง
ในกรณีที่วัตถุเคลื่อนที่อย่างเสรีด้วยแรงโน้มถ่วงคงที่ เช่น วัตถุเคลื่อนที่ไปในอากาศภายใต้แรงโน้มถ่วงของโลก ทางเดินของวัตถุจะเป็นรูปพาราโบลา
ข้อควรจำ
สำหรับการเคลื่อนที่แบบโปรเจกไตล
1) ความเร่งในแนวระดับ (แกน x) = ศูนย์ นั่นคือ vx = คงที่ = ux ไม่ว่าวัตถุจะอยู่ที่ตรงไหนก็ตาม
พิสูจน์ ไม่มีแรงในแนวแกน X กระทำที่วัตถุ
จาก Fx = max
O = max
ax = 0
จาก vx = ux + axt; ได้ vx = ux
2) ความเร่งในแนวดิ่ง (แกน Y ) = g
พิสูจน์ มีแรงกระทำที่วัตถุคือ w = mg ในทิศดิ่งลงตามแกน Y
จาก Fy = may
mg = may
ay = g ทิศดิ่งลง
3) เวลาที่วัตถุใช้เคลื่อนที่ตามแนวโค้ง = เวลาที่เงาของวัตถุใช้เคลื่อนที่ตามแนวแกน X = เวลาที่เงาของวัตถุใช้เคลื่อนที่ตามแนวแกน Y
ตามรูปข้างบน สมมุติวัตถุวิ่งจาก O ไปตามทางโค้ง (เส้นประ) ถึง A (ทางโค้ง OA)
เงาทางแกน X จะวิ่งจาก O ไปถึง B
เงาทางแกน Y จะวิ่งจาก O ไปถึง C
ดังนั้น tOA = tOB = tOC
4) ความเร็ว v ณ จุดใด ๆ จะมีทิศสัมผัสกับเส้นทางเดิน (เส้นประ) ณ จุดนั้น และ
(1) หาขนาดของ v โดยใช้สูตร
เมื่อ vx = ux = ความเร็วในแนวแกน X
vy = ความเร็วในแกน Y
(2) ทิศทางของ v หาได้โดยสูตร
เมื่อ x = มุมที่ v ทำกับแกน X
5) ณ จุดสูงสุด
vx = ux
vy = 0
หมายเหตุ บางทีเราเรียกวัตถุที่เคลื่อนที่แบบโปรเจกไตล์ว่า "โปรเจกไตล์" และเราเรียกการเคลื่อนที่นี้ว่า การเคลื่อนที่ของโปรเจกไตล
วิธีคำนวณ
1) ตั้งแกน X ให้อยู่ในแนวระดับ และแกน Y อยู่ในแนวดิ่ง โดยจุดกำเนิด (origin) ต้องอยู่ที่จุดเริ่มต้น
2) แตกเวกเตอร์ทุกค่าคือ ความเร็ว ระยะทาง ให้อยู่ในแนวแกน X และ Y
3) คิดทางแกน X มีสูตรเดียว เพราะ ax = 0 คือ
4) คิดทางแกน Y ใช้สูตรทุกสูตรต่อไปนี้
5) กำหนดว่าทิศทางใดเป็นบวก (+) ทิศตรงข้ามจะเป็นลบ (-) แล้วแทนเครื่องหมาย + และ - ในเวกเตอร์ต่อไปนี้ Sx, Sy, Ux, Uy, Vy, ay สำหรับเวลาเป็นปริมาณสเกลาร์เป็น + เท่านั้น
ปกติ นิยมให้ทิศทางเดียวกับความเร็วต้น (ux และ uy ) เป็นบวก (+)
6) เมื่อคิดทางแกน X และแกน Y ตามข้อ 3),4)และ 5) แล้ว จะได้ 2 สมการ จากนี้ก็แก้สมการทั้งสอง ถ้ายังไม่สามารถแก้สมการได้ให้ใช้ความสัมพันธ์จากรูป ดังนี้
ทั้งรูป (ก) และรูป (ข) ใช้ความสัมพันธ์
เมื่อ y = ระยะทาง (การขจัด) ตามแนวแกน Y
x = ระยะทาง (การขจัด) ตามแนวแกน X
=มุมที่ OA ทำกับแกน X
โปรดสังเกตว่า y ในรูป (ก) เป็น + เพราะอยู่เหนือแกน X และ Y ในรูป (ข) เป็น - เพราะอยู่ใต้แกน X แต่เราใช้ค่า y และ x ที่เป็น + เท่านั้น กับ tan เพราะ น้อยกว่า 90 องศา ( <90 องศา)
2.การเคลื่อนที่แบบวงกลม

การเคลื่อนที่แบบวงกลม
เป็นการเคลื่อนที่โดยมีแรงกระทำเข้าสู่ศูนย์กลางของวง กลม และจะเกิดความเร่งเข้าสู่ศูนย์กลาง ความเร็วจะมีค่า ไม่คงที่ เพราะมีการเปลี่ยนทิศทางการเคลื่อนที่ โดยความ เร็ว ณ ตำแหน่งใดจะมีทิศสัมผัสกับวงกลม ณ ตำแหน่งนั้น
สูตรการเคลื่อนที่เป็นวงกลม
1. ความเร็วเชิงเส้น (v) และความเร็วเชิงมุม ()
v = x r ---> v = ความเร็วเชิงเส้น หน่วยเป็น เมตร/วินาที
ความเร็วเชิงมุม = ความเร็วเชิงมุม หน่วยเป็นเรเดียล/วินาที
T= คาบการเคลื่อนที่ หน่วยเป็นวินาที
f = จำนวนรอบที่วัตถุเคลื่อนที่ได้ใน 1 วินาที หน่วยเป็น เฮิรตซ์ (Hz)
2. ความเร่งสู่ศูนย์กลาง
ความเร่งสู่ศูนย์กลาง ac =ความเร่งสู่ศูนย์กลาง หน่วยเป็น เมตร/วินาที2
r = รัศมี หน่วยเป็น เมตร
F = แรงสู่ศูนย์กลาง หน่วยเป็น นิวตัน (N)
3. แรงสู่ศูนย์กลาง
แรงสู่ศูนย์กลาง
แรงสู่ศูนย์กลาง
รูปจาก sb
วัตถุผูกเชือกแล้วแกว่งให้เป็นวงกลม
วัตถุผูกเชือก แล้วแกว่ง ให้เป็น วงกลม
การเคลื่อนที่เป็นวงกลมในแนวดิ่ง ( โดยแตก mg )
การเคลื่อนที่เป็น วงกลม ในแนวดิ่ง
การโคจรของดาว
สมการ r + h = รัศมีวงโคจร , T = คาบ การหมุน ของ ดาว
r + h = รัศมีวงโคจร , T = คาบการหมุนของดาว


3.การเคลื่อนที่แบบฮาร์มอนิก
การเคลื่อนที่แบบฮาร์มอนิกอย่างง่าย















































-->
การเคลื่อนที่แบบฮาร์มอนิกอย่างง่าย

            สมมุติว่าจัดให้ลูกเหล็กหมุนวนเป็นวงกลมอย่างสม่ำเสมอบนพื้นโต๊ะ แล้วถ้าทำให้เกิดเงาของลูกเหล็กปรากฏที่ผนังด้านข้างก็จะเห็นการเคลื่อนที่ของเงาเป็นการเคลื่อนที่แบบฮาร์มอนิกอย่างง่ายรอบจุดคงตัวจุดหนึ่ง
            เงาของลูกเหล็กเปรียบเสมือนเป็นวัตถุที่กำลังเคลื่อนที่แบบฮาร์มอนิกอย่างง่าย เคลื่อนที่กลับไปกลับมารอบจุดคงตัวจุดหนึ่งŽ
            ปริมาณที่เกี่ยวกับการเคลื่อนที่แบบฮาร์มอนิกอย่างง่าย เช่น คาบ ความถี่ อัตราเร็วเชิงมุม จะมีค่าเดียวกับคาบ ความถี่ อัตราเร็วเชิงมุมของการเคลื่อนที่เป็นวงกลม
            1.          คาบ (T) ของการเคลื่อนที่แบบฮาร์มอนิกอย่างง่าย คือ เวลาที่เคลื่อนที่ครบ 1 รอบ หน่วยวัดเป็น       วินาที
            2.          ความถี่ (f) ของการเคลื่อนที่แบบฮาร์มอนิกอย่างง่าย คือ จำนวนรอบที่เคลื่อนที่ใน 1 วินาที
            3.          อัตราเร็วเชิงมุม หรืออาจเรียกว่าความถี่เชิงมุม v = 2pf =  เรเดียนต่อวินาที
            อย่างไรก็ตามในการอธิบายการเคลื่อนที่แบบฮาร์มอนิกอย่างง่ายมักอธิบายเกี่ยวกับการกระจัด  ความเร็วและความเร่งเหมือนการเคลื่อนที่แบบอื่นๆที่นักเรียนได้เรียนมาแล้ว
การเคลื่อนที่แบบฮาร์มอนิกอย่างง่ายตามแนวระดับรอบจุดคงตัว O 
            4.         การกระจัด ของการเคลื่อนที่แบบฮาร์มอนิกอย่างง่าย คือ การวัดระยะการย้ายตำแหน่งของวัตถุเมื่อเทียบกับจุดคงตัว O และการกระจัดสูงสุดคือแอมพลิจูดของการเคลื่อนที่
            ตามรูป x คือ การกระจัดของการเคลื่อนที่ ณ เวลาหนึ่ง
x = A sin vt
            เมื่อ       A คือ การกระจัดสูงสุดหรือแอมพลิจูดของการเคลื่อนที่
                                     vt  คือ มุมเฟส ณ เวลา t
            5.          ความเร็ว ของการเคลื่อนที่  v = Av cos vt  ความเร็วมีทิศเดียวกับทิศการเคลื่อนที่ของวัตถุ ณ   เวลานั้น
ความเร็วของการเคลื่อนที่แบบฮาร์มอนิกอย่างง่าย
                        2           ขนาดความเร็วสูงสุดเป็น Av ขณะผ่านจุด O
                        2           ขนาดความเร็วเป็นศูนย์อยู่ที่ตำแหน่งที่การกระจัดสูงสุด 
            6.          ความเร่ง ของการเคลื่อนที่ a = 2Av2 sin vt หรือ a = 2v2x  ทิศความเร่งพุ่งเข้าหาจุด O เสมอ
และขนาดของความเร่งเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
ความเร่งของการเคลื่อนที่แบบฮาร์มอนิกอย่างง่าย
              
                        2           ขนาดความเร่งสูงสุดเป็น Av2 ขณะอยู่ที่ตำแหน่งที่การกระจัดสูงสุด
                        2           ขนาดของความเร่งเป็นศูนย์เมื่อผ่านจุด O
ระบบที่มีการเคลื่อนที่แบบฮาร์มอนิกอย่างง่าย
            1.          ระบบมวล - สปริง ผูกมวล m กิโลกรัมที่ปลายสปริงแล้ววางบนพื้นโต๊ะเกลี้ยง ตรึงปลายสปริงอีกด้านหนึ่งไว้(ตัวสปริงขนานพื้นโต๊ะ) ทำให้มวลเคลื่อนที่แบบฮาร์มอนิกอย่างง่ายรอบจุด O
            l           ปริมาณที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนที่ ที่ควรทราบดังนี้
                        1)          คาบ (T) ของการเคลื่อนที่ คือ เวลาที่ใช้ในการเคลื่อนที่ 1 รอบ (กี่วินาทีใน 1 รอบ)
                        2)          ความถี่ (f) ของการเคลื่อนที่ คือ จำนวนรอบที่เคลื่อนที่ใน 1 หน่วยเวลา (กี่จำนวนรอบใน 1       วินาที)
                        3)          อัตราเร็วเชิงมุม v = 2pf =  และถ้า k เป็นค่านิจของสปริง v = 
                        4)          การกระจัด (x) วัดระยะที่มวลแกว่งออกจากจุด O ณ ขณะใดๆ
                        5)          แอมพลิจูด (A)  วัดระยะแกว่งออกจากจุด O สูงสุด
สมการขนาดการกระจัด คือ x = A sin vt
                        6)          ความเร็ว (v) ณ ขณะใดๆ มีทิศตามทิศการเคลื่อนที่ ณ ขณะนั้น
สมการขนาดความเร็ว คือ v = Av cos vt
                        7)          ความเร่ง (a) ณ ขณะใดๆ มีทิศเข้าหาจุดที่ต่ำสุด (เชือกอยู่แนวดิ่ง)
สมการขนาดความเร่ง คือ a = 2Av2 cos vt หรือ a = 2v2x
            ในกรณีที่พิจารณาการเคลื่อนที่แบบฮาร์มอนิกอย่างง่ายในแนวดิ่ง อาจอธิบายด้วยสมการต่อไปนี้
การเคลื่อนที่แบบฮาร์มอนิกอย่างง่ายตามแนวดิ่งรอบจุดคงตัว O
 
            สมการขนาดการกระจัด คือ y = A cos vt
            สมการขนาดความเร็ว คือ v = 2Av sin vt  
            สมการขนาดความเร่ง คือ a = 2Av2 cos vt หรือ a = 2v2y  
ระบบเพนดูลัมอย่างง่าย
            ระบบเพนดูลัมอย่างง่าย คือ ระบบที่มวลผูกเชือกแล้วแขวนให้เชือกอยู่ในแนวดิ่ง เมื่อทำให้มวลแกว่งโดยเชือกเบนจากแนวดิ่งน้อยๆ การเคลื่อนที่ของมวลจะเป็นแบบฮาร์มอนิกอย่างง่าย โดยเชือกเป็นความยาวแขนของการเคลื่อนที่
            l           ปริมาณที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนที่ ที่ควรทราบดังนี้
                        1)          คาบ (T) ของการเคลื่อนที่ คือ เวลาที่ใช้ในการเคลื่อนที่ 1 รอบ (กี่วินาทีใน 1 รอบ)
                        2)          ความถี่ (f) ของการเคลื่อนที่ คือ จำนวนรอบที่เคลื่อนที่ใน 1 หน่วยเวลา (กี่รอบใน 1 วินาที)
                        3)          อัตราเร็วเชิงมุม  v = 2pf =      
                                    และถ้า < เป็นความยาวแขนของการเคลื่อนที่แล้ว v =    
                        4)          การกระจัด (x) วัดระยะที่มวลแกว่งออกจากแนวดิ่งเริ่มต้น ณ ขณะใดๆ และเชือกเบนทำมุม            u = vt
                        5)          แอมพลิจูด (A)  วัดระยะแกว่งออกจากแนวดิ่งเริ่มต้นสูงสุด
สมการขนาดการกระจัด คือ x = A sin vt
                        6)          ความเร็ว (v) ณ ขณะใดๆ มีทิศตามทิศการเคลื่อนที่ ณ ขณะนั้น
สมการขนาดความเร็ว คือ v = A v cos vt
  
                        7)          ความเร่ง (a) ณ ขณะใดๆ มีทิศเข้าหาจุดที่ต่ำสุด (เชือกอยู่แนวดิ่ง)
สมการขนาดความเร่ง คือ a = Av2 cos vt หรือ a = 2v2x
 
4.หาโจทย์เรื่องการเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์

http://www.youtube.com/watch?v=o2tEDaX4fOI


5.หาโจทย์เรื่องการเคลื่อนที่แบบวงกลม
http://www.youtube.com/watch?v=EvUxKYUwdvs

6.โจทย์การเคลื่อนที่แบบฮาร์มอนิก

 http://www.youtube.com/watch?v=jGaU8BNXXLc

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น